พันธกิจ วิสัยทัศน์ สํานักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

พันธกิจ วิสัยทัศน์ สํานักปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 


วิสัยทัศน์

องค์กรสมรรถนะสูงในการอำนวยการและสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์อย่างบูรณาการ สู่ผลสัมฤทธิ์เพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกร

พันธกิจ

1. กำกับ ดูแล สนับสนุน และประสานงานให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงมีสมรรถนะ ประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการทำงาน
มากขึ้น รวมทั้ง การสร้างพื้นฐานระบบการบริหารจัดการที่ดีของกระทรวง
2. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของเกษตรกรให้บรรลุผลตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรทุกระดับอย่างเป็นระบบ
4. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. พัฒนาและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์นโยบาย กิจกรรม และโครงการต่างๆ ของกระทรวงให้เป็น ที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
6. สนับสนุนและประสานงานให้ภารกิจด้านการเกษตรต่างประเทศเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

วัฒนธรรม


มีคุณธรรม สร้างสรรค์ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รับผิดชอบร่วมกัน
"HOPE”
H : Honesty : มีคุณธรรม
O : Ownership : รับผิดชอบร่วมกัน
P : Prompt to change : พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
E : Establish : สร้างสรรค์

ค่านิยม

ซื่อสัตย์ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รับฟังความคิดเห็น มุ่งผลสัมฤทธิ์

ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การพัฒนาระบบ และกลไกการบริหารจัดการด้านการเกษตรและสหกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ
โดยกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 2 กลยุทธ์ ได้แก่
 1) พัฒนาระบบอำนวยการและบริหารจัดการด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ และ
2) พัฒนาความร่วมมือและขยายการดำเนินงานด้านการเกษตรต่างประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
2. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพแก่เกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 3 กลยุทธ์ ได้แก่
1) พัฒนาระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer
2) เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเป็นธรรม และ
3) พัฒนาและสนับสนุนการบูรณาการแผนสู่การปฏิบัติเพื่อให้การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพแก่เกษตรกรประสบความสำเร็จ

เป้าประสงค์

1. หน่วยงานในสังกัด กษ. มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคล่องตัว 
2. ความร่วมมือด้านการเกษตรต่างประเทศเกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
3. ระบบกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย Smart Farmer มีประสิทธิภาพ
4. เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
5. เกษตรกรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร

ภารกิจ/อำนาจหน้าที่

      สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ แปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากรและบริหารราชการทั่วไปของกระทรวงที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใดในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ  รวมทั้ง  กำกับและเร่งรัด ตรวจสอบ และติดตาม การปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงให้บรรลุเป้าหมาย และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวงโดยมีอำนาจหน้าที่  ดังต่อไปนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอแนะรัฐมนตรีสำหรับใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารของกระทรวง
3. แปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ โครงการ และโครการพิเศษ
4. ดำเนินการและประสานงานกับองค์การหรือหน่ายงานที่เกี่ยวกับกิจการด้านการเกษตต่างประเทศ
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
6. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง
7. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
8. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการ  รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลสารนิเทศด้านการเกษตร
9. ดำเนินการบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตกรและรับเรื่องร้องเรียน
10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

นโยบายกำกับดูแลองค์การที่ดี

1. ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และส่งเสริมการสร้าง
จิตสำนึกให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงเจ้าหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบต่อสังคม
และการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการให้บริการที่มีความสะดวก
ทันสมัย โปร่งใสและสุจริต และอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการ
ตอบสนองความต้องการ และมีความพึงพอใจ
3. ด้านองค์การ โดยการส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยของสำนักงาน และส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนดำเนินงาน
(Action Plan) ที่ชัดเจนและสอดคล้องตามแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ และจัดให้มีระบบการติดตาม
ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นถึงผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายและความสอดคล้องกับ
หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
4. ด้านผู้ปฏิบัติงาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
และส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เพื่อร่วมตัดสินใจในการพัฒนาองค์การ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น